Bitcoin คืออะไร? ที่มา เทคโนโลยี ความปลอดภัยของบิทคอยน์ - ลงทุนบิทคอยน์ (Bitcoins) ให้มีกำไร ปลอดภัย เข้าใจความเสี่ยง

ลงทุนบิทคอยน์ปลอดภัย มีกำไร เข้าใจความเสี่ยง
ดูสารบัญเนื้อหา | เทรดบิทคอยน์กับ BitKub | เทรดบิทคอยน์กับ Bitazza

Bitcoin คืออะไร? ที่มา เทคโนโลยี ความปลอดภัยของบิทคอยน์

ใน Section ของบิทคอยน์คืออะไรนั้น ขอแบ่งประเด็นออกดังนี้นะครับ
1. ปรัชญาเบื้องหลังของบิทคอยน์
2.เทคโนโลยีเบื้องหลังของบิทคอยน์
3.ความปลอดภัยของบิทคอยน์

1. ปรัชญาเบื้องหลังของบิทคอยน์
ก่อนจะเริ่มลงทุนบิทคอยน์ ถ้าท่านไม่ได้รู้จักปรัชญาของบิทคอยน์ท่านจะเป็นเพียงนักเก็งกำไรคนหนึ่งที่ตาบอด มองไม่เห็นถึงเป้าหมายที่แท้จริงของมัน บทความนี้ผมจะพาทุกท่านได้ซึมซับปรัชญาอันเลิศนี้
ท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมทุกวันนี้ข้าวของทุกอย่างถึงได้แพงขึ้นมาก เมื่อก่อนนั้นก๋วยเตี๋ยวชามนึง เพียงราคา 0.5 บาท เพียง 50 ปีให้หลังราคาเป็น 50 บาท หรือเติบโตถึง 100 เท่าภายในระยะเวลาไม่กี่ปีเท่านั้น โลกเราเกิดอะไรขึ้น?

ต้องย้อนกลับไปในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้น ทุกประเทศในโลกล้วนต้องประสบกับปัญหาหนี้ที่เกิดขึ้น ทั้งหนี้เสียหนี้เน่าจากการปล่อยกู้ให้กับบุคคลผู้มีความสามารถในการชำระหนี้ได้น้อย เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ผู้คนถูกจ้างออกจากงาน เงินเริ่มไม่มีจะใช้ จึงได้มีการเอาทรัพย์สินที่มีออกมาจำหน่ายกันมาก ไม่ยอมจ่ายหนี้ ทำให้สินทรัพย์ราคาร่วงราว ตลาดหุ้นเจ๊ง บริษัทยักษ์ใหญ่ล้ม มองดูแล้วไม่มีหนทางใดที่จะสามารถใช้หนี้ได้ ท้ายที่สุดจึงได้ปั้มเงินเข้าสู่ตลาดเพื่อเป็นการประคองไม่ให้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมทั้งระบบต้องล่ม เงินจำนวนล้านล้านดอลล่าห์ถูกพิมพ์ออกมา กระแสเงินจำนวนมากได้ไหลเข้าสู่กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปและเอเชีย การปริ้นท์เงินออกมาเหมือนเกมส์เศรษฐี ประเทศต่างๆเหมือนรู้สึกโดนโกง ไม่ช้าไม่นานต่างก็ปั้มเงินออกมาเช่นกัน ปั้มมาปั้มกลับไม่โกง ท้ายสุดโลกเราก็เต็มไปด้วยธนบัตรกระดาษที่ปราศจากสินทรัพย์ใดค้ำประกัน นอกจากความเชื่อมั่นของรัฐต่างๆที่มีต่อกัน


เงินกงเต๊กจากการปั้มเงินเข้าสู่ระบบหลักล้านล้านดอลล่าห์
ผลกระทบของเงินจำนวนมากไหลเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก เงินจะต้องมีบ้านอยู่ ดังนั้นเงินต้องเข้าไปอยู่ในสินทรัพย์อื่นๆเช่น หุ้น พันธบัตร ทอง ดังนั้นท่านจึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมหลังจากเกิดวิกฤตหุ้นที่พังพินาศ จึงกลับมาเด้งราวกลับปลุกผี นั่นก็เพราะว่าเงินจำนวนมากต้องหาบ้านอยู่ ราคาหุ้นที่สูงขึ้นมันไม่ได้เกิดจากการที่เศรษฐกิจดี แต่เกิดจากการที่เงินกงเต๊กจำนวนมากไหลเข้าไปหาบ้านใหม่เท่านั้น
ชายคนหนึ่งเห็นว่าระบบเงินตราของรัฐไม่มีความน่าเชื่อถือ จึงได้ทำการประดิษฐ์โค้ดโปรแกรมขึ้นมา โดยคล้ายเกมส์ถอดรหัส โดยตั้งแต่เริ่มเกมส์ผู้เขียนโปรแกรมกำหนดว่า ใครถอดรหัสนี้ได้จะได้รับรางวัลตอบแทน และรางวัลตอบแทนนี้คือบิทคอยน์ ซึ่งไม่ใช่ว่าจะมีแบบไม่จำกัด หากแต่ได้กำหนดไว้ว่ามันจะมีเพียงแค่ 21 ล้านบิทคอยน์เท่านั้น และจะไม่มีวันเพิ่มขึ้นไปมากกว่านี้ และไม่ว่าใครก็ตามกระทั่งผู้เขียนโปรแกรมก็ไม่อาจลบล้างเงื่อนไขตรงนี้ได้

จะเห็นได้ว่าบิทคอยน์มีลักษณะเหมือนการถอดรหัส ใครที่มีคอมพิวเตอร์ถอดรหัสจำนวนมากสุดจะเป็นผู้ไขรหัสได้ ก็จะได้บิทคอยน์ตอบแทน แต่ผลตอบแทนนี้จะมีจำนวนจำกัดไม่สามารถพิมพ์ขึ้นได้อีก เปรียบเทียบกับทุกวันนี้คนเราล้วนต้องทำงานแลกเงิน จ่ายเงินตามผลสำเร็จของงานและได้เงินตอบแทน เพียงแต่ว่าเงินที่รัฐจ่ายให้มันมีไม่จำกัด แต่บิทคอยน์นั้นจำกัด หากหมดแล้วหมดเลย แล้วแม้แต่คนเขียนขึ้นมาก็ไม่อาจลบล้างเงื่อนไขนี้ได้ ทุกคนจึงอยู่ในแฟร์เกมส์ที่ทุกคนมีสิทธิไขรหัสนี้ได้

2.เทคโนโลยีเบื้องหลัง
ผู้เขียนจะขอสรุปให้ผู้คนเข้าใจง่ายๆคือ ให้คุณลองนึกถึงระบบการเงินในปัจจุบันที่เราฝากเงินไว้กับธนาคาร ธนาคารเท่านั้นที่รับรู้ว่าเรามีเงินเท่าไหร่ แต่เราจะไม่รู้เงินของคนอื่น สมมติว่าวันหนึ่งธนาคารถูกแฮกและแก้ไขข้อมูล ก็ไม่มีใครรู้ว่าข้อมูลนั้นจริงหรือเท็จนอกจากเจ้าของบัญชี และไม่มีใครรู้ว่าธนาคารมีเงินจริงๆรึเปล่า

แต่การมาของบิทคอยน์นั้น ได้กำหนดไว้ว่า ใครก็ตามที่มาร่วมถอดรหัสเพื่อหวังจะได้รับค่าตอบแทนนะ คุณจะถือกระดาษที่เหมือนๆกันคนละชุด สมมติว่ามีคนมาร่วมถอดรหัสทั้งหมด 2 พันล้านคนแต่ละคนก็จะถือกระดาษแผ่นเดียวกัน ข้อมูลเดียวกัน ทุกคน

สมมติว่านาย A ถอดรหัสมาปีกว่ามีรางวัลในกระเป๋า 100 บิทคอยน์ ทุกๆ 2 พันล้านคนที่ร่วมถอดรหัส ก็จะทราบเหมือนกันหมดว่า นาย A มีเงินกระเป๋า 100 บิทคอยน์ ทันทีที่นาย A จะโอนเงินดังกล่าวไปยังกระเป๋าใน B, นาย A จะประกาศไปในระบบอินเตอร์เน็ตว่า เฮ้ ทุกคน ฉันจะโอนเงินจำนวน 50 บิทคอยน์ไปยังกระเป๋า B นะ ทุกคนที่ร่วมถอดรหัสจะมาดูกระดาษที่จดว่ามีเงินเท่าไหร่ ปรากฎว่ามีเงินถึง ทุกคนก็จะบันทึกว่านาย A ได้โอนเงินให้ B จำนวน 50 บิทคอยน์นะ ดังนั้นตอนนี้นาย A จะมีเงิน 50 บิทคอยน์, นาย B มีเงิน 50 บิทคอยน์ ข้อมูลในกระดาษกว่า 2 พันล้านชุดจะถูกบันทึกพร้อมกัน ด้วยข้อมูลเหล่านี้
ถ้านาย A จะโอนให้นาย B จำนวน 200 บิทคอยน์ เมื่อทุกคนก้มมองในกระดาษปรากฎว่าเห้ย มันมีเงินแค่ 50 บิทคอยน์เอง ทุกคนจะไม่ยอมรับและปฏิเสธการจดบันทึก การประกาศนั้นทุกคนจะไม่ให้ความสนใจและละทิ้งไป

เช่นเดียวกันนาย C มาจากไหนก็ไม่รู้ว่าประกาศว่าจะโอนเงินให้นาย Z จำนวน 1 บิทคอยน์ เมื่อทุกคนก้มมองในกระดาษปรากฎว่านาย C ไม่มีตังเลย ทุกคนก็จะปฏิเสธ และละลิ้งไป
ดังนั้นหนทางเดียวที่จะแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้คือ คนนั้นจะต้องควบคุมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่ร่วมการถอดรหัสกว่า 2,000 ล้านเครื่องเพื่อแก้ไขกระดาษที่ทุกเครื่องถือไว้ หรืออย่างน้อยก็ 51% และต้องทำภายในไม่กี่นาทีด้วย เพราะถ้าทำไม่ทันก็ต้องรอถอดรหัสชุดถัดไปอีก จะเห็นได้ว่าการจะแก้ไขข้อมูลที่ถูกสำเนาไว้ในคอมพิวเตอร์กว่า 2 พันล้านเครื่องภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที นับว่ายากและไม่คุ้มค่าใช้จ่าย ดังนั้นระบบการทำงานของบิทคอยน์จึงนับว่ามีความปลอดภัยกว่าธนาคารเป็นอันมาก

3. ความปลอดภัยของบิทคอยน์
ดังจะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก ถึงยากที่สุดที่จะแก้ไขข้อมูลที่ถูกสำเนาไว้ในคอมพิวเตอร์กว่าพันล้านเครื่องภายในเวลาไม่กี่นาที จะต้องใช้ทรัพยากรที่มากมายมหาศาล มีการคำนวณคร่าวๆว่าการจะแก้ไขข้อมูลเหล่านั้นอาจต้องใช้เงินกว่า 30 ล้านบาท/ชั่วโมง และไม่อาจรับประกันได้ว่าจะแก้ไขข้อมูลทั้งหมดได้สำเร็จอีกด้วย และปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ร่วมกันถอดรหัสบิทคอยน์เองก็มีจำนวนมากมายมหาศาล และนับวันก็จะยิ่งมากขึ้น ทำให้บรรดาเหล่าแฮกเกอร์เองถ้าคิดจะล้มระบบของบิทคอยน์จะต้องใช้คอมมหาศาล พละกำลังสมองจำนวนมาก และอาจต้องใช้ไฟฟ้าในการประมวลผมเพื่อล้มเครือข่ายในระบบที่ใช้ไฟของหลายๆประเทศรวมกันก็ไม่สามารถการันตรีได้ว่าจะทำได้สำเร็จ การล้มระบบไม่ใช่เรื่องง่าย อยู่ที่ว่าต้นทุนที่ต้องจ่ายกับผลประโยชน์ที่ได้จากการล้มระบบเครือข่ายมันคุ้มค่าต่อการกระทำนั้นหรือไม่ จึงอาจกล่าวได้ว่าการปิดไฟฟ้าของสองสามประเทศรวมกัน ยังง่ายกว่าการล้มระบบบิทคอยน์เสียอีก แล้วรัฐไหนจะยอมปิดไฟฟ้าทั้งประเทศเพื่อล้มระบบบ้างล่ะครับ? นั่นแหละครับคือความยาก นำมาสู่ความปลอดภัยของมัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น