Tokenization โทคเค่นไนเซชั่น ยุคที่ทุกอย่าง ใครก็สามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ คืออะไรกัน? - ลงทุนบิทคอยน์ (Bitcoins) ให้มีกำไร ปลอดภัย เข้าใจความเสี่ยง

ลงทุนบิทคอยน์ปลอดภัย มีกำไร เข้าใจความเสี่ยง
ดูสารบัญเนื้อหา | เทรดบิทคอยน์กับ BitKub | เทรดบิทคอยน์กับ Bitazza

Tokenization โทคเค่นไนเซชั่น ยุคที่ทุกอย่าง ใครก็สามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ คืออะไรกัน?

ในยุคปัจจุบัน 2020 เราเริ่มได้ยินคำว่ายุคแห่ง Tokenization หรือยุคแห่งโทเค่นไนเซชั่นคืออะไร?

เราคงจะทราบกันดีว่า ณ. ขณะนี้สินทรัพย์ทุกอย่างราคาเพิ่มสูงขึ้น จนคนรุ่นปัจจุบันไม่สามารถเป็นเจ้าของได้โดยง่ายอีกต่อไป ด้วยภาวะเงินเฟ้อได้ผลักดันราคาสินทรัพย์ทุกสิ่งอย่าง เพิ่มขึ้นมากจนเกินมูลค่าแท้จริงของมัน และมันก็ยังคงเป็นเช่นนั้นตราบเท่าที่โลกเรายังสามารถผลิตเงินออกมาได้อย่างไม่จำกัด

ด้วยทรัพย์สินราคาสูงขึ้นมาก ทำให้หลายสิ่งอย่างไม่สามารถจับต้องได้ รวมไปถึงทรัพย์สินบางอย่างก็มีข้อจำกัดของการถือครอง เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา จะถือครองได้แค่ไม่กี่คนเท่านั้น หรือชื่อเสียงของเหล่าดารา ผู้มีชื่อเสียง จะจับจองเป็นเจ้าของได้อย่างไร

ยุคแห่ง Tokenization เกิดขึ้นมาเพื่อจัดการปัญหาเหล่านี้
Tokenization คือระบบของการแลกเปลี่ยนที่ไม่ต้องผ่านตัวกลาง แต่เดิมเราใช้เงินแลก Token เช่นในยุคของ ICO (Initial coins offering) เราคิดว่าโปรเจคไหนดี เราก็จะเอาเงินไปแลก เจ้าของโปรเจคก็จะส่งโทเคนให้กับผู้ซื้อ ถ้าหากว่าโปรเจคไปได้ดี ราคาของโทเคนที่ซื้อขายกัน ก็จะมีราคาสูงขึ้น ตามกลไกตลาด

ไม่ใช่เพียงแค่นั้น แต่กระบวนการ Tokenization เป็นอะไรที่มากกว่านั้น เช่น
ที่ดิน คอนโด บ้าน โรงแรม ก็สามารถ Tokenization ได้ เช่น เราจะสร้างคอนโดสักแห่งแต่เราไม่มีเงินพอ ที่เราจะสร้างได้ แต่ก่อนเราก็ต้องไปกู้ธนาคาร เอาเงินมาสร้าง และก็จ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคาร

แต่ระบบ โทเคนไนเซชั่น นั้น จะเปิดโอกาสให้คนที่จะทำโปรเจคคอนโด สามารถระดมทุนจากคนได้ทั่วไป นาย ก. เป็นคนสร้างคอนโด (Developer) งบประมาณ 100 ล้านบาท จึงสร้างโทเคนออกมา 100 โทเคน

ส่วนนาย A อยากได้คอนโด แต่มีเงินแค่ 1 ล้านบาท ก็จะได้ 1 Token เกิดคอนโดสร้างเสร็จขายได้กำไรเท่าไหร่ ก็ต้องมานำกำไรมาแบ่งให้นาย A จำนวน 1 ส่วนด้วย

หรือ วงศิลปิน Girl group BNX เห็นว่าตัวเองเป็นคนที่มีชื่อเสียง เลยคิดอยากจะแปลงชื่อเสียงของตัวเองเป็น Token โดยกำหนดไว้ว่าชื่อเสียงตัวเองมีค่า 1 ล้านบาท แบ่งเป็น 1 ล้านโทเคน 
วงศิลปิน Girl group BNX จึงขายโทเคนของตัวเอง

นาย B เป็นโอตะผู้ชื่อชอบวง BNX อยากมีส่วนร่วมในวง อยากเป็นเจ้าของแต่มีเงินแค่ 1,000 บาท ก็เอาเงินไปแลกได้มา 1,000 โทเคน ซึ่งอาจจะได้รับส่วนแบ่งจากการที่วงทำกำไรจากการโปรโมทคอนเสิร์ตตามสื่อต่างๆ หรือโทเคนอาจจะเป็นสิทธิพิเศษได้จับมือกับเมมเบอร์ในวงนานเท่าที่มีโทคเคนในมือก็ได้

หรือนักประดิษฐ์ชื่อ เอดิสัน อยากสร้างหลอดไฟปัญญาประดิษฐ์ เปิดปิดด้วยกลไก AI แต่ไม่มีเงินทุน แต่มีสิทธิบัตรในการสร้างหลอดไฟดังกล่าว ก็เลยเอาสิทธิบัตรไปออกเป็น Token มูลค่าสิทธิบัตร 10 ล้าน
และออกโทเคนละ 1 บาท ก็จะมี 10 ล้านโทเคน
เอดิสัน อยากถือครองไว้เองครึ่งนึง เอดิสันก็อาจเก็บไว้กับตัว 5 ล้านโทเคน และปล่อยขาย 5 ล้านโทเคนก็ได้

ลองคิดดูว่าถ้าโทเคนเปิดขายในตลาดหลักทรัพย์ จากเดิมที่เราเทรดกันแค่หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ หรือการซื้อขายล่วงหน้า แต่ถ้าวันหนึ่ง เราสามารถเป็นเจ้าของในอสังหาริมทรัพย์ ความมีชื่อเสียงของศิลปิน หรือสิทธิบัตร ทรัพบ์สินทางปัญญา โดยการเทรดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คิดดูว่าเทรนด์ของ Tokenization จะไปได้ไกลขนาดไหนครับ :)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น